ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในวันที่ 26 ตค 2560 - Funchee By Thishop

Post Top Ad

ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในวันที่ 26 ตค 2560

ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในวันที่ 26 ตค 2560

Share This
พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงทศพิธราชธรรม มีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ ทรได้รับการยกย่องเป็นสมมติเทพ คือเป็นเทวดาจุติลงมาอุบัติบนโลกมนุษย์ เมื่อสวรรคตเท่ากับเป็นการเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์

การอัญเชิญพระบรมศพจากพระมหาปราสาทไปสู่พระเมรุมาศ หรือ อันเชิญพระอัฐิจากพระเมรุมาศมาสู่พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุหรือลอยอังคาร ตามโบราณกาลจะอัญเชิญด้วยขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ซึ่งเรียกว่า " ริ้วขบวน "


การจัดริ้วขบวนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีขบวนพระราชอิสริยยศ จำนวน 6 ริ้วขบวน โดยใช้กำลังพลจำนวน 5613 นาย ทั้งนี้ ได้มีการบูรณะตกแต่งรวมทั้งซักซ้อมการเคลื่อนขบวนให้งดงามประหนึ่งราชรถเคลื่อนบนหมู่เมฆส่งเสด็จสู่สวรรค์

ริ้วขบวนที่ 1 พระยานมาศสามลำคาน
ริ้วขบวนที่ 2 พระมหาพิชัยราชรถ
ริ้วขบวนที่ 3 ราชรถปืนใหญ่
ริ้วขบวนที่ 4 พระที่นั่งราเชนทรยาน
ริ้วขบวนที่ 5 พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย
ริ้วขบวนที่ 6 ขบวนกองทหารม้า

กำลังพล
การอัญเชิญพระบรมศพจากพระปราสาทไปสู่พระเมรุมาศ โดยริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศจะมีคนฉุดชักราชรถจำนวนมากและเจ้าพนักงานประจำริ้วขบวนต่างๆ ด้วยเครื่องแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย

1. มหาดเล็กหลวง จำนวน 100 นาย
2. สารวัตรกลอง จำนวน 48 นาย
3. พนักงานถือบังพระสูรย์ จำนวน 15 นาย
4. กลองชนะ จำนวน 760 นาย
5. ตำรวจหลวงคู่แห่ จำนวน 46 นาย
6. พรหม เชิญพุ่มทอง จำนวน 40 นาย
7. อินทร์ เชิญพุ่มเงิน จำนวน 40 นาย
8. พรหม เชิญจามร จำนวน 32 นาย
9. อินทร์ เชิญจามร จำนวน 32 นาย
10. ผู้บอกกระบวน จำนวน 1 นาย
11. พนักงานจูงม้า จำนวน 288 นาย
12. เครื่องสูง จำนวน 224 นาย
13. แตร สังข์ จำนวน 52 นาย
14. มโหะทึก จำนวน 8 นาย
15. ธงสามชาย จำนวน 8 นาย
16. นำริ้ว จำนวน 3 นาย

ราชรถหมายถึง พาหนะแห่งพระมหากษัตริย์ ในโบราณน่าจะพัฒนามาจากเกวียนขนาดเล็กที่นั่งได้เพียงคนเดียว และเทียมด้วยม้าหรือสัตว์อื่น เช่น วัว ลา ล่อ หรือแม้แต่คน

ริ้วขบวนที่ 1 พระยานมาศสามลำคาน


สร้างขึ้นในรัชกสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อใช้เชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นครั้งแรกเป็นยานที่มีคานหามขนาดใหญ่ทำด้วยไม้จำหลักลวดลายลงรักปิดทอง มีพนักโดยรอบ 3 ด้าน และ มีคานหาม 3 คาน จึกเรียกว่า พระยานมาศสามลำคาน ใช้สำหรับเชิญพระโกศพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถที่จอดเทียบรออยู่ใกล้พลับพลายกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อพระมหาพิชัยราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพไปถึงพระเมรุมาศแล้ว ก็จะใช้พระยานมาศสามลำคานนี้เชิญพระโกศพระบรมศพเวียนรอบพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง อีกครั้งหนึ่ง

ริ้วขบวนที่ 2 พระมหาพิชัยราชรถ


เป็นราชรถทำด้วยไม้สักแกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกใช้กำลังพลฉุด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2338 เพื่อเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกออกท้องพระเมรุเพื่อถวายพระเพลิงใน พ.ศ.2339 จากนั้นจึงถือเป็นพระราชประเพณีที่ใช้พระยาพิชัยราชรถเชิญพระบรมศพพระมหากษัตร์ พระราชิยีและพระบรมวงศ์ชั้นสูง

ริ้วขบวนที่ 3 ราชรถปืนใหญ่


เป็นราชรถที่เชิญพระโกศพระบรมศพ พระศพของพระมหากษัตร์และพระบรมวงศ์ ที่ทรงรับราชการทางทหารเมื่อครั้งดำรงพระชนม์ชีพแทนพระยานมาศสามลำคานตามธรรมเนียมเดิมจากจากพระบรมมหาราชวังหรือพระเมรุ และห่ออุตราวัฏรอบพระเมรุมาศ 3 รอบ ซึ่งเป็นธรรมเนียมใหม่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพจอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุเดช เมื่อ พ.ศ.2459 เป็นครั้งแรก และครั้งหลังสุดในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อ พ.ศ.2493

ริ้วชบวนที่ 4 พระที่นั่งราเชนทรยาน


เป็นราชยานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะเป็นทรงบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน 5 ชั้น สร้างด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกพนักพิงและกระจังปฏิญาณแกะสลักเป็นภาพเทพนมไว้ตรงกลางและมีรูปครุฑยุดนาคประดับที่ฐาน มีคานสำหรับหาม 4 คาน ใช้คนหาม 56 คน ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนิน โดยขบวนแห่อย่างใหญ่ทที่เรียกว่า "ขบวนสี่สาย" เช่น ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก นอกจากนี้ยังใช้ในการเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตร์ สมเด็จพระบรมราชินี และพระอัฐิพระบรมวงศ์จากพระเมรุมาศท้องสนามหลวง ไปยังมหาราชวังอีกด้วย

ริ้วขบวนที่ 5 ราชรถน้อย


เป็นราชรถมีลักษณะคล้ายพระมหาพิชัยราชรถ และ เวชยันตราชรถ คือ มีส่วนตัวราชรถที่แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก คานที่ยื่นออกมาเป็นรูปนาคราชบนราชรถมีบุษบกตั้งอยู่เช่นเดียวกัน เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า ราชรถน้อยองค์ที่หนึ่งใช้เป็นราชรถที่สมเด็จพระสังฆราชประทับ ทรงอ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระมหาพิชัยราชรถ ราชรถองค์ที่สอง เป็นราชรถโยงพระภูษาจากพระโกศพระบรมศพ จากนั้นเป็นราชรถน้อยองค์ที่สาม ใช้เป็นราชรถสำหรับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ประทับ เพื่อทรงโปรยทานพระราชทานแก่ประชาชนที่มาเฝ้าฯ กราบพระบรมศพตามทางสู่พระเมรุมาศ

ริ้วขบวนที่ 6 ขบวนกองทหารม้า


เชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวัง ทางประตูวิเศษไชยศรี ไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดบวรนิเวศวิหาร

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : kingrama9

ขอบคุณค่ะ 

ThaiPaymall

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Bottom Ad

Pages